ทนายรณรงค์ เปิดข้อกฎหมาย หลังหัวหน้าห้ามลาไปดูใจแม่
วันที่ 17 ส.ค. 66 นาย รณรงค์ แก้วเพชร ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม กล่าวถึงกรณี "ดราม่าโรงแรมหรูไล่ลูกจ้างออก เพราะขอลาพาแม่ที่ป่วยหนักมากไปหาหมอ" ว่า
มีสาวบุรีรัมย์ทำงานโรงแรมหรูที่เขาใหญ่ ส่งไลน์ถึงเอชอาร์ของโรงแรม วันแรกเพื่อขอลาหยุด พาแม่ไปฉีดยา โรงแรมให้ลาได้ วันที่สอง เธอบอกอาการคุณแม่แย่ลง น่าจะไม่พ้นวันนี้ เธอก็ไลน์ไปขอลาอีก ปรากฎว่าเอชอาร์ไม่ยอม และบอกว่าถ้าจะลา พรุ่งนี้มาเขียนใบลาออกเลย เธอก็ถามว่าเธอทำอะไรผิด และเธอก็โพสต์ภาพว่าแม่เธอตายแล้ว"
ประเด็นนี้น่าสนใจ สังคมมองเรื่องว่าทำไมเอชอาร์ไม่มีความเมตตา ไม่เข้าใจเพื่อนมนุษย์ ไม่เข้าใจสิ่งที่มนุษย์โลกทั่วไปเขาเป็น พ่อแม่จะเป็นจะตายก็มีสิทธิ์ไปดูแลรักษาก่อนตาย ไม่มีใครบ้าทำงานไม่สนใจคนใจครอบครัว ตัวเอชอาร์ที่บอกว่าลาไม่ได้ ถ้าเจอเหตุการณ์เดียวกัน คุณจะเป็นแบบไหน"
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เราจะทำอะไรก็ดูกติกา สังคมอาจเห็นใจลูกจ้าง แต่กติกาเขาบอกว่า การลากิจ ลาได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี นายจ้างต้องให้ลูกจ้างสามารถลากิจได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณบอกปุ๊บแล้วจะหยุดได้ทันที ต้องรอนายจ้างอนุมัติก่อนถึงจะลากิจได้ เพราะการลากิจยังได้เงินเดือนค่าจ้าง แต่การที่น้องลากิจแล้วเขาไม่ให้ลากิจ และให้ลาออกเลย ในทางข้อกฎหมาย ลูกจ้างขาดงานติดต่อกัน 3 วันติดต่อกัน โดยไม่ติดต่อนายจ้างเลย เขามีสิทธิ์ไล่ออกได้ แต่น้องลา 1 วันเพื่อพาแม่ไปหาหมอแล้วแม่ตาย ก็เท่ากับว่าน้องขาดงานแค่ 1 วัน จะไล่ออกไม่ได้
การให้เขียนใบลาออก เป็นการบีบบังคับลูกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้สมัครใจลาออก เขาเรียกว่าเป็นการไล่ออก มุมของนายจ้าง ผมคิดแทนโรงแรมหรูที่เขาใหญ่ ถ้าเอชอาร์ดูแลพนักงานแบบนี้ ในฐานะที่เราเป็นนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวโรงแรมหรูๆ แบบนี้ เราก็อยากให้เงินที่เราจ่ายค่าโรงแรมไปถึงพนักงาน ครอบครัวลูกจ้างให้เขามีชีวิตที่มีความสุข อย่าลืมว่าเป็นโรงแรมหรู คนไปเที่ยวคือคนมีตังค์ ถ้าเอชอาร์บริหารแบบนั้น เราก็เป็นลูกค้าคนหนึ่งที่คงไม่ไปใช้บริการ ถ้าคุณไม่ออกมาชี้แจง อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น หรือลูกจ้างคนนี้ลาหยุดป็นประจำ จนนายจ้างไม่ไหวก็ออกมาพูด เราจะได้รู้มุมของนายจ้าง"
อยากให้รถทัวร์ที่กำลังลงนายจ้างได้ฟังคำอธิบายก่อน มันอาจมีเหตุผลบ้างเหตุผลก็ได้ เพราะเวลาคนเราโพสต์ ก็จะโพสต์ในมุมของตัวเอง เราก็จะต้องดูเรื่องนี้ต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ลากิจสามารถลาได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 วันต่อปี แต่ต้องขอนายจ้างอนุมัติก่อน แต่หากขาดงาน 3 วันติดต่อกันสามารถไล่ออกได้ทันที แต่นี่ขาด 1 วันยังไล่ออกไม่ได้นะจ๊ะ