สมเด็จพระราชินีฉลองพระองค์ผ้าปาเต๊ะลายเพชรล้อม ชนเผ่าท้องถิ่น

สมเด็จพระราชินีฉลองพระองค์ผ้าปาเต๊ะลายเพชรล้อม ชนเผ่าท้องถิ่น

จากกรณี เพจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We love Her Majesty Queen Suthida Fanpage ได้ออกมาโพสต์ภาพโดยระบุว่า

ฉลองพระองค์ ผ้าปาเต๊ะลายเพชรล้อม ชนเผ่าท้องถิ่น โบราณ พระภูษาผ้าไหมพื้นเรียบ ทรงเข็มกลัดพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำว่า ปาเต๊ะ หรือ บาติก (Batik) เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า ติก มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็ก ๆ ผ้าปาเต๊ะ จึงหมายถึงผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ๆ ด่าง ๆ ซึ่งมาจากกรรมวิธีวิธีการทำผ้าปาเต๊ะที่จะใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือ ย้อม ในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้น อาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสี และ ย้อมสี ในผืนเดียวกัน

ลวดลายของผ้าปาเต๊ะจะเป็นรูปที่มีต้นแบบมาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ หรือรูปเลขาคณิตต่าง ๆ สำหรับผ้าปาเต๊ะในวัฒนธรรมเพอรานกัน จะนิยมรูปสัญลักษณ์มงคลตามคติจีน เช่น รูปดอกท้อ ดอกโบตั๋น พัด ลายหงส์ หรือ นกฟินิกส์ ถือเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมความเป็นมลายูและจีน

ผ้าปาเต๊ะที่ขึ้นชื่อและเป็นที่นิยมของสาวบาบ๋า ภูเก็ต มาตั้งแต่อดีต มีด้วยกัน ๓ ประเภท คือ ๑. ผ้าปาเต๊ะลาส้อม (Lasem Style) เป็นผ้าปาเต๊ะที่ผลิตในชวา ประเทศอินโดนีเซีย นิยมเป็นสีนำตาล และสีส้มอิฐ ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลายขวาง รูปดอกไม้

และสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ปลา นก ๒. ผ้าปาเต๊ะเมืองไทร เป็นผ้าปาเต๊ะที่ไม่มีท้าย เขียนลวดลายดอกทั้งผืน มีสามสีด้วยกัน คือ สีดำ สีขาวนำเงิน และสีขาวเขียว ๓. ผ้าพัน คือ ผ้าปาเต๊ะที่มีความยาวกว่าผ้าปาเต๊ะปกติ วิธีการนุ่งคือจะใช้พันรอบตัว ลวดลายที่นิยมรูปดอกไม้ รูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ปลา นก

เรียบเรียงโดย news.in.th

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ