ลูกสาวกินขนม ก่อนช็อกหายใจไม่ออก หมอแจ้งตรวจเจอสาเหตุคนเป็นแม่แทบทรุด
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราว ที่โลกออนไลน์เข้ามาแสดงความเห็น และให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก หลังเฟสบุ๊ค Pattamaporn Chandrabhaya ได้ออกมาโพสต์โดยได้ระบุว่า
ไม่เคยคิดว่าชีวิตลูกจะได้แอดมิตใน ICU
12 พ.ค. 66 หลังจากที่อัณณาเรียนภาษากับคุณครูเสร็จ แม่จะไปส่งครูที่ตลาดบางใหญ่ ทุกครั้งแม่จะแวะซื้ออาหาร ขนม ไปกินกันต่อที่บ้านคุณยายเหมือน
ถึงบ้านคุณยาย กินข้าวเสร็จ เด็กๆ กินขนมกัน โดยมีซูชิ(เจ้าประจำ) โดนัท และขนมโตเกียว(ซื้อบางครั้ง) เริ่มกินประมาณ 2 ทุ่ม กินเสร็จจากบ้านคุณยายก็กลับถึงบ้านอาบน้ำนอน
เวลาผ่านไป อยู่ ๆ อัณณาก็กอดแม่แน่นแล้วพูดว่า หม่ามี๊จ๋าหนูคิดว่าหนูไม่ไหว I have to go to hospital now!! เพราะหัวใจหนูเต้นช้าลง แม่รู้ว่าลูกไม่ไหวก็รีบเรียกพ่อพาไปโรงพยาบาล ระหว่างทางอัณณาบอกให้แม่นวดหัวใจให้ พอจับดูก็รู้สึกว่าหัวใจเต้นช้าลง มือเท้าเกร็ง
พอถึงโรงพยาบาลหมอบอกว่าชีพจรน้องอ่อนมาก หมอให้ยาเพื่อดูอาการและเฝ้าระวังในห้อง ICU เช้ามาคุณหมอให้ความเห็นว่าเป็นอาการช็อกเฉียบพลัน จากแพ้อาหาร แต่ก็แปลกที่ไม่มีผื่นแพ้ให้เห็น หรือเป็นจากสารพิษ
อาการลูกคล้ายคนที่เสพยาเกินขนาดมีอาการต่อระบบหายใจ และหัวใจโดยตรง ถ้าอาหารเป็นพิษต้องมีอาการต่อกระเพาะอาหารและมีไข้ ส่วนโดนสารพิษจะมีอาการอาเจียน แต่อัณณาไม่มีเลยอยู่ดีๆ ก็หายใจไม่ออกและช็อก
ทางโรงพยาบาลจึงได้ส่งไปที่สถาบันพิษวิทยาก็ไม่พบสารพิษ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือ เป็นสารเสพติด (กัญชา ใบกระท่อม) ที่เปิดเสรีจนคนไร้จิตสำนึกบางกลุ่ม เอามาใส่ลงในอาหาร หรือ ขนมเพื่อให้ลูกค้าติดใจ โดยที่ไม่ได้แจ้งว่าเป็นขนมเฉพาะ ทางพ่อได้ให้น้ำหนักไปทางสารเสพติด เพราะของอย่างเดียวที่อัณณากินไม่เหมือนคนอื่นคือ ขนมโตเกียว และแปลกที่พออัณณาไปซื้อร้านขอทำให้ใหม่ ทั้งๆ ที่มีขนมทำไว้เยอะมาก พ่อยังมาเล่าว่าร้านเค้าดีนะเห็นเด็กซื้อเลยอยากทำร้อนๆ ให้ ตอนนี้น่าจะเป็นเพราะเค้ารู้แก่ใจว่าขนมเค้าใส่อะไร แต่ด้วยความที่อัณณาผอมและตัวเล็ก สารเลยออกฤทธิ์แรง
คุณหมอแจ้งว่า ถ้าจะตรวจสารเสพติดต้องภายใน 4 ชม.หลังได้รับสาร เราจึงได้แค่สงสัยไม่อาจมีหลักฐานไปเอาผิดกับร้านได้
สุดท้ายนี้แม่ขอฝากเตือน แม่ ๆ ทุกบ้าน เราคงต้องใช้ชีวิตยากกว่าทุกครั้ง ไม่ใช่แค่ระวังว่าลูกจะกินอาหาร สะอาดปลอดภัยไหม บางบ้านต้องดูว่าลูกแพ้อะไรไหม เราต้องระวังให้ลึกไปอีกว่า ร้านจะใส่สารเสพติดในอาหารด้วยรึเปล่า เพราะถึงแม้ใส่ในปริมาณน้อย ผู้ใหญ่อย่างเราทนไหว แต่ลูกๆ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าร่างกายเค้ารับได้แค่ไหนอย่างไร
เรียบเรียงโดย news.in.th