อุตุฯ เผยข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.พ. 66 เจอพายุฝนกระหน่ำ ลูกเห็บตก

อุตุฯ เผยข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.พ. 66 เจอพายุฝนกระหน่ำ ลูกเห็บตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองลดลง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก อนึ่ง คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในช่วงวันที่ 16 – 17 ก.พ. 66 ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันมากเนื่องจากมีการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคอื่นๆ มีฝุ่นละอองสะสมอยู่ในเกณฑ์เล็กน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากมีฝนฟ้าคะนอง

พยากรณ์อากาศกรุงเทพฯ และปริมณฑล 06:00 น. วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ออกประกาศ 15 กุมภาพันธ์ 2566 18:00

อากาศ 7 วัน ข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คาดหมาย ในช่วงวันที่ 15 – 17 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ในช่วงวันที่ 16 – 19 ก.พ. 66 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นบริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 18 – 21 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 15 – 17 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16 – 17 ก.พ. 66 ไว้ด้วย

ขอบคุณ กรมอุตุนิยมวิทยา

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ