นักโภชนาการ เตือน! ดื่มน้ำ 2 ชนิด เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็ง

นักโภชนาการ เตือน! ดื่มน้ำ 2 ชนิด เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็ง

จากเว็บต่างประเทศ ได้รายงานว่า ฟ่าน จื้อหง (范志红) ศาสตราจารย์และนักโภชนาการที่มีชื่อเสียงของจีน ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำที่ ภาควิชาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งประเทศจีน (China Agricultural University, CAU) เปิดเผยว่า มีความเชื่อผิด ๆ ว่าน้ำที่ต้มแล้วทิ้งไว้ข้ามคืนหรือน้ำที่นำมาต้มซ้ำหลายครั้งสามารถก่อมะเร็งได้ เนื่องจากอาจมีไนไตรต์ (Nitrite) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม ไนไตรต์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อน้ำมีสารไนเตรต (Nitrate) อยู่ก่อนแล้ว แต่น้ำดื่มทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำแร่หรือน้ำบริสุทธิ์ มักมีเพียงแร่ธาตุและธาตุอาหารรอง หรืออาจไม่มีสารไนเตรตเลย จึงไม่มีปัจจัยให้เกิดไนไตรต์ที่เป็นอันตราย

นอกจากนี้ จากการทดสอบหลายครั้งพบว่า แม้น้ำจะถูกต้มซ้ำถึง 20 ครั้ง ก็มีไนไตรต์อยู่เพียง 0.038 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำมากและไม่ได้เกิดจากการต้มซ้ำ แต่มาจากองค์ประกอบของน้ำตั้งแต่แรก ซึ่งสามารถควบคุมได้ด้วยการเลือกแหล่งน้ำที่เหมาะสม

ดังนั้น น้ำต้มสุกข้ามคืนและน้ำต้มซ้ำหลายครั้ง ไม่ใช่สาเหตุของโรคมะเร็ง ตามที่หลายคนกังวล

น้ำ 2 ประเภทที่อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง

1.น้ำร้อนเกินไป

-หลายคนชอบดื่มน้ำร้อน เช่น น้ำชา หรือน้ำซุป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักใช้กระติกน้ำร้อนเก็บน้ำเดือดไว้ดื่มตลอดทั้งวัน

-องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า น้ำที่ร้อนเกิน 65°C อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร

-เนื่องจากน้ำร้อนสามารถทำให้เยื่อบุหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองหรือบาดเจ็บ หากดื่มบ่อย ๆ อาจทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มโอกาสเกิดเซลล์มะเร็ง

-เยื่อบุทางเดินอาหารรองรับอุณหภูมิได้ที่ประมาณ 40-50°C เท่านั้น

2.น้ำประปาที่ยังไม่ได้ต้ม

-น้ำประปามักถูกฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ซึ่งอาจทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในน้ำ ก่อให้เกิดสารเคมีอย่าง คลอโรฟอร์ม (Chloroform) และไฮโดรฮาไลด์ (Hydro Halide) ซึ่งเป็นสารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง

-หากดื่มน้ำประปาโดยไม่ผ่านการกรองหรือต้มฆ่าเชื้อเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ และไต

-งานวิจัยบางชิ้นชี้ว่า การได้รับคลอโรฟอร์มในปริมาณสูงเป็นเวลานานอาจทำให้ DNA ถูกทำลาย ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

คำแนะนำเพื่อการดื่มน้ำที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

-ปริมาณที่ควรดื่ม: ควรดื่มน้ำวันละ 1.5-2 ลิตร หรือปรับตามน้ำหนักตัวและระดับกิจกรรม

-อุณหภูมิที่เหมาะสม: ควรดื่มน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 20-40°C หลีกเลี่ยงน้ำที่ร้อนเกินไปหรือน้ำเย็นจัด

-ช่วงเวลาที่เหมาะสม: ควรดื่มน้ำเป็นระยะตลอดวัน โดยเฉพาะ แก้วหลังตื่นนอน เพื่อช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด และดื่มน้ำก่อนมื้ออาหารเพื่อช่วยเรื่องการย่อยอาหาร

-วิธีการดื่ม: ควรจิบน้ำทีละน้อย ไม่ควรดื่มรวดเดียวในปริมาณมาก เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น

-แหล่งน้ำที่ปลอดภัย: ควรเลือก น้ำบริสุทธิ์หรือน้ำต้มสุกที่ปล่อยให้เย็นลง หลีกเลี่ยงน้ำประปาที่ยังไม่ได้ต้ม หรือน้ำที่ไม่ผ่านการกรอง

-ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป: ไม่ควรดื่มน้ำในปริมาณมากเกินไปในคราวเดียว เพราะอาจทำให้สมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ และในบางกรณีอาจเกิดภาวะ น้ำเป็นพิษ (Water Intoxication) ได้

-หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน: เพื่อป้องกันการตื่นขึ้นมากลางดึกและรบกวนคุณภาพการนอน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ