
หลายคนชอบกิน! แต่ ขิง ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะกระทบสุขภาพ โดยเฉพาะคน 5 กลุ่มที่ไม่ควรกิน
ขิง เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะนำมาผัดเป็นหมู/ไก่ผัดขิง ซุปขิง ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊ก ผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ถ้าแปรรูปเป็นขิงดองอาจนำไปกินเคียงกับข้าวหน้าเป็ดหรืออาหารญี่ปุ่นได้อย่างเอร็ดอร่อย หรือทำเป็นขนมหวาน ไม่ว่าจะเป็นเต้าฮวยน้ำขิง บัวลอยงาดำน้ำขิง มันต้มขิง หรือแม้กระทั่งนำไปแต่งกลิ่นในคุกกี้ เค้ก หรืออาหารอื่นๆล้วนชวนให้ละมุนเลิศรสมากขึ้นทั้งนั้น นอกจากความอร่อยแล้ว ขิงยังมีอีกหลากหลายสรรพคุณทางยาให้ได้ศึกษามากมาย
มีงานวิจัย การศึกษาทางคลินิกว่าขิงมีฤทธิ์แก้คลื่นไส้ อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ , ฤทธิ์แก้คลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยหลังการผ่าตัด , ฤทธิ์แก้คลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบําบัด , ฤทธิ์แก้คลื่นไส้ อาเจียน ในหญิงมีครรภ์ , บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกาย , ฤทธิ์ลดการอักเสบในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม , ฤทธิ์ลดการสูญเสียเลือดประจำเดือน , ฤทธิ์ในการรักษาไมเกรนและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณและวิธีใช้
- บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่น จุกเสียด รับประทานวันละ 2 – 4 กรัม
- ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ รับประทานวันละ 1 – 2 กรัม ก่อนเดินทาง 30 นาที – 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
- ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน หลังการผ่าตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัมก่อนการผ่าตัด 1 ชั่วโมง
เมื่อใดที่ขิงอาจส่งผลเสียต่อคุณ
แม้ว่าโดยทั่วไปขิงจะถือว่าปลอดภัยต่อการบริโภค และแม้จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีบางกรณีที่บางคนอาจต้องการจำกัดปริมาณการบริโภค หรือหลีกเลี่ยงการบริโภคไปเลยทั้งหมด ไคล์ สเตลเลอร์ แพทย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการแพทย์แห่งโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด และโฆษกของสมาคมระบบทางเดินอาหารแห่งอเมริกา กล่าว
(ไม่ว่าคุณจะเพียงแค่จับตาดูปริมาณการบริโภคประจำวันของคุณ หรือตัดสินใจที่จะตัดออกจากอาหารของคุณไปเลยทั้งหมด เป็นเรื่องที่คุณควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ เนื่องจากความเสี่ยงส่วนบุคคลและปริมาณที่เหมาะสมแตกต่างกันไปอย่างมาก ตามที่ ดร.สเตลเลอร์กล่าว)
ข้อกังวลที่สำคัญที่สุดคือสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ฮีโมฟีเลีย ซึ่งเลือดไม่แข็งตัวอย่างเหมาะสม ดร.สเตลเลอร์กล่าว "ขิงมีคุณสมบัติในการต้านการแข็งตัวของเลือด หรือทำให้เลือดบางลงเล็กน้อย ซึ่งหมายความว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้" เขากล่าว
โดยใน ชัวร์ก่อนแชร์ เคยออกมาบอกไว้ว่า คน 5 กลุ่มที่ไม่ควรกินขิง จริงหรือ?
สรุป : จริงบางส่วน แต่ขิงเป็นอาหารที่มีประโยชน์เช่นกัน แชร์ว่า 5 กลุ่มคนที่ไม่ควรกินขิง
1.ผู้ที่มีปัญหาเลือดออกผิดปกติ เพราะกินขิงเพิ่มโอกาสทำให้เลือดออก (ใช่)
2.ผู้ป่วยเบาหวานควรระวัง (ไม่ใช่)
3.ผู้ป่วยโรคหัวใจ และได้รับยาละลายลิ่มเลือด การทานขิฃทำให้ลดการแข็งตัวของเลือด (ใช่)
4.ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เพราะขิงอาจเพิ่มการไหลของน้ำดี (ใช่)
5.ผู้ที่ใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน (ใช่)