คลังแจงแล้ว ความจริง เงิน 10,000 เปิดลงทะเบียนรอบใหม่
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯเปิดเผยว่า ผลจากการติดตาและรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 841,161 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 367 ข้อความ
เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุดพบว่า เป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามนโยบายของรัฐบาล หน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โครงการสวัสดิการของประชาชนและข่าวที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ
ข่าวปลอมทั้งหมดมีผลกระทบต่อประชาชน อาจเกิดความสับสน สร้างความเสียหาย การเข้าใจผิด สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนเป็นวงกว้าง หากมีการแชร์ส่งต่อกันไปในสังคม” นายเวทางค์ กล่าว
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับพบว่า
อันดับที่ 1 : เรื่อง รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตใหม่ สำหรับคนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารออมสิน กรุงไทย
อันดับที่ 2 : เรื่อง น้ำทะเลหนุน ถ.พระราม 2 เมืองกำลังจะจมทะเล
อันดับที่ 3 : เรื่อง เตรียมโอนเบี้ยผู้สูงอายุทุกราย 1,000 บาท
อันดับที่ 4 : เรื่อง แจกเงินผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567
อันดับที่ 5 : เรื่อง เมืองเชียงใหม่จะจมบาดาลใน 6 ชั่วโมง
อันดับที่ 6 : สาวพม่าจ่ายเงินซื้อสัญชาติไทยจำนวน 8 หมื่นบาท
อันดับที่ 7 : เรื่อง พบรถทัศนศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน จ.นครพนม เกิดกลุ่มควันขึ้น ขณะเดินทาง
อันดับที่ 8 : เรื่อง สาเหตุที่เมืองเชียงใหม่ระบายน้ำได้ช้า เกิดจากประตูระบายน้ำดอยน้อยเสีย
อันดับที่ 9 : เรื่อง งดทัศนศึกษาทั่วประเทศ หากโรงเรียนใดฝ่าฝืนปรับ 20,000,000 บาท
อันดับที่ 10 : เรื่อง ว่านหางจระเข้ช่วยบำบัดเนื้องอกและซีสต์
สำหรับข่าวที่ได้รับความสนใจอันดับ 1 เรื่อง รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตใหม่ สำหรับคนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารออมสิน กรุงไทยนั้น พบเป็นข้อมูลเท็จ
กระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับ ธ.ออมสิน และธ.กรุงไทย ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม ซึ่งปัจจุบันธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทยไม่ได้มีการเปิดรับลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ตแต่อย่างใด
ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 101 เรื่อง
กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายจำนวน 18 เรื่อง
กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 49 เรื่อง
กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 4 เรื่อง
กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 18 เรื่อง
สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 355 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 11 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 1 ข้อความรวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 190 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 72 เรื่อง