หมอเตือน! ประสบการณ์ตรงล้างจมูก ผิดวิธี อันตรายหนักมาก โดยเฉพาะเด็กๆ

หมอเตือน! ประสบการณ์ตรงล้างจมูก ผิดวิธี อันตรายหนักมาก โดยเฉพาะเด็กๆ

เมื่อวันที่ 17 ก.ค.67 ที่ผ่านมา ได้มีสมาชิกเฟซบุ๊ก Pattaramon Chomchumpol โพสต์เตือนภัย ล้างจมูกผิดวิธี อันตราย เกิดหูชั้นกลางอักเสบ ได้โพสต์ภาพเยื่อแก้วหูที่อักเสบ ระบุว่า ภาพที่เห็นคือ เยื่อแก้วหูที่ป่องแดง ภายในมีหนองขัง ของลูกชายสุดที่รักของหมอหูคอจมูกเด็กเองค่า ขอโพสต์ยาวๆ เพื่อแชร์ความรู้ และประสบการณ์ตรง ทั้งในฐานะ หมอหูคอจมูกเด็ก และมนุษย์แม่ที่ลูกป่วยบ่อยมากๆๆ เผื่อเป็นประโยชน์แก่ แม่ๆ ในการดูแลเด็กๆ นะค้า

เมื่อมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น หวัด ไซนัสอักเสบ อะดีนอยด์อักเสบ จะมีโอกาสเกิดหูชั้นกลางอักเสบตามมาได้ แต่จะพบได้บ่อยขึ้นในเด็ก เพราะโดยกายวิภาคในโพรงจมูกที่แตกต่างจากผู้ใหญ่

การล้างจมูก โดยเฉพาะในเด็ก แม้จะช่วยให้หายใจโล่ง บรรเทาอาการ ลดน้ำมูกลงคอลดอาการไอเสมหะ นอนหลับได้ แต่ถ้าล้างผิดวิธี ผิดจังหวะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งในฐานะหมอ เจอเคสแบบนี้เยอะมากๆ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และในฐานะแม่ แม้จะระวังเต็มที่ก็พลาดเกิดกับลูกจนได้

ล้างผิดวิธี คืออย่างไร? ล้างแรงเกินไป การอัดน้ำเกลือเข้าแรงๆ อาจทำให้น้ำเกลือถูกผลักเข้าท่อปรับความดันที่ต่อกับหูชั้นกลาง แม้บางครั้งเราล้างไม่แรง แต่ต้องอย่าลืมว่า เวลาป่วย ในโพรงจมูกจะบวม เมื่อออกมาอีกข้างไม่ได้ก็มีโอกาส เข้าสู่หูชั้นกลางได้ ล้างผิดจังหวะ ในเด็กยิ่งเด็กเล็กๆ ที่ยังให้ความร่วมมือได้ไม่ดี การล้างในจังหวะที่เด็ก หายใจ หรือกลืน ส่งผลให้เกิดการสำลัก หรือ เปิดโอกาสให้น้ำเกลือเข้าหูชั้นกลางได้

แล้วควรล้างอย่างไร? เน้นปริมาณมากกว่าความแรง ใช้ปริมาณ ค่อยๆ ผลักน้ำเกลือเข้าในช่วงแรก ให้น้ำมูกที่เหนียวอ่อนนุ่มลงจะออกมาได้ โดยล้างไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำมูกจะออกมา หากมีตัวช่วยคือ เครื่องดูดน้ำมูก (suction) ช่วยดูดน้ำเกลือ และน้ำมูกออกจากอีกข้างจะดีมากๆ ใกล้เคียงกับแบบที่ รพ.ใช้ หาซื้อได้ใน shopee ราคาประมาณ 4,000 บาท

ในเด็กแนะนำให้โน้มตัวด้านหน้า และใช้วิธีออกเสียง อา เวลาจังหวะที่ใส่น้ำเกลือเข้าไป เพราะนั่นเป็นการให้เด็กกลั้นหายใจ และไม่กลืน ลดความเสี่ยงการสำลักและดันน้ำเกลือเข้าหูได้ ถ้าไม่มั่นใจเรื่องความแรง แนะนำใช้ syringe ขนาดเล็ก เพื่อลดความแรง เด็กเล็กใช้ 5ml เด็กโตใช้ 10ml ถ้า ใช้ 20ml ได้ ก็ระวังเรื่องความแรงนิดนึงนะคะ แม่พลาดมาแล้ว

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีหูอักเสบ ส่วนมากเคสที่เกิดจากการล้างจมูก ให้ประวัติชัดเจน ลูกบ่นปวดหู หูอื้อ หลังล้างจมูก และเป็นอยู่ไม่หายไป ทันที แนะนำพามาตรวจเลยค่ะ แต่เด็กเล็กที่บอกอาการไม่ได้ สังเกตเด็กจับหูบ่อยๆ กระสับกระส่ายนอนไม่ได้ ไข้สูง มาให้หมอตรวจหูดูด้วยนะค้า

เด็กๆ ที่เป็นหวัดบ่อยๆ เรื้อรัง ส่วนมากมีปัญหาต่อมอะดีนอยด์อักเสบเรื้อรัง และกลุ่มนี้จะพบปัญหาของหูชั้นกลางอักเสบร่วมด้วยได้มากขึ้น บางรายพ่อแม่มาปรึกษาด้วย เรื่องลูกเรียกไม่หัน (ในใจหมอก็คิดว่า ลูกหมอก็เป็นตลอดนะ อย่าเพิ่งรีบคิดว่า ลูกกวนประสาทพ่อแม่นะคะ) ถ้าน้องเป็นหวัดเรื้อรัง ล้างจมูกบ่อยๆ พามาตรวจหูค่า พบน้ำขังในหูชั้นกลางเรื้อรัง เคสนี้ ตรวจการได้ยินลดลงชัดเจน แน่นอน มีผลต่อการเรียน และผลระยะยาวแน่ๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษา

การรักษาต้องทำอย่างไร? อันนี้เป็นหน้าที่หมอเลยค่ะ เพราะการรักษาแตกต่างกันตามความรุนแรง และภูมิต้านทานของผู้ป่วย รวมถึงปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย ทั้งสังเกตอาการ ให้ยาปฏิชีวะนะ รวมถึงอาจจะต้องผ่าตัดร่วมด้วย พ่อแม่อาจช่วยระวังเรื่องการล้างจมูก และสังเกตอาการ ให้ตระหนักถึงเรื่องหูของเด็กๆ ด้วย เพราะบางรายรุนแรง หนองแตกทะลักออกมาได้ หรือต้องรักษาด้วยการผ่าตัดตามมา

ส่วนลูกชายหมอ มีต่อมอะดีนอยด์โต อักเสบเรื้อรัง เฉียบพลันเป็นๆ หายๆ อยู่เดิม ล้างจมูกทุกวัน ระวังมากๆ แต่วันนั้นจมูกบวมมาก จะน้ำเกลือผลักออกไปที่หูชั้นกลางแทน ลูกอดทน ไม่ค่อยบ่นอะไร แต่แม่หมอสังเกตเห็นลูกซึมลง ดูมึนงง บ่นปวดหัวหน่อยๆ ไข้ เลยนำมาตรวจทันที และถือเป็นเคสที่อาจจะต้องจบด้วยการผ่าตัด ต่อมอะดีนอยด์และหูชั้นกลาง

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ