ความเครียด VS โรคซึมเศร้า แตกต่างกันอย่างไร?
เรียกได้ว่า คงมีหลายๆคนที่มักจะคิดว่าตัวเองนั้น ตกลงเป็น ความเครียด หรือ โรคซึมเศร้า กันแน่ เพราะไม่สามารถแยกออกจากันได้ วันนี้เราจะพาไปดูกัน
1.ความเครียด (Stress)
ความเครียดเป็นเรื่องระยะสั้น เกิดขึ้นได้กับทุกคน ภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการเครียด
อาการโดยทั่วไปของความเครียดมีดังต่อไปนี้
• นอนไม่หลับ
• รู้สึกเกินจะทนไหว
• มีปัญหาเรื่องความจำ
• โฟกัสอะไรไม่ค่อยได้ สมาธิสั้น
• พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
• รู้สึกกังวล ประสาทเสีย กระสับกระส่าย
• โกรธและโมโหง่าย
• รู้สึกหมดแรง
• รู้สึกว่าเราผ่านอะไรยากๆในชีวิตไม่ไหวแล้ว
• ส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิต
การรักษาโรคเครียด
วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียดอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
2.ซึมเศร้า (Depression)
ซึมเศร้าเป็นเรื่องระยะยาว คนทุกคนต่างเคยรู้สึกเครียด รู้สึกผิดหวังหรือมีอารมณ์เศร้าหมองเหมือนๆกันเมื่อเผชิญกับความสูญเสียหรือปัญหาอุปสรรคในชีวิต ความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติหากเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
แต่ถ้าความเครียดและความเศร้าเหล่านี้ดำเนินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคนๆนั้นกำลังเป็นโรคซึมเศร้า
อาการของโรคซึมเศร้ามีดังนี้
• เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
• รู้สึกเศร้าและสิ้นหวัง
• หมดพลัง ไร้แรงบันดาลใจจะทำอะไร
• ทำสิ่งที่ชอบทำมาตลอดไม่ได้
• ชอบตัดสินใจอะไรแย่ๆ
• นอนไม่พอ เหนื่อยตลอดเวลา ไม่ค่อยมีแรง
• กินมากหรือน้อยกว่าปกติ
• นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
• โฟกัสกับอะไรไม่ได้
• มีปัญหากับความทรงจำ
• รู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกผิดตลอดเวลา รู้สึกทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
• ไม่เห็นค่าของตัวเอง
• ก้าวร้าว
• รู้สึกว่าไม่สามารถผ่านเรื่องราวอะไรยากๆในชีวิตได้ ยอมแพ้กับชีวิต
• มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
• มีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์
• อยากฆ่าตัวตาย
การรักษาโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร
แต่เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยการเข้ามานอนโรงพยาบาล หรือใช้ไฟฟ้า แต่ก็จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น