ชายไทยระวัง! โรคไหลตาย มีภาวะเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง รีบเช็คเลย
ขณะที่หลายคนพยายามนอนให้หลับ ยิ่งหลับลึก ยิ่งดีต่อสุขภาพ แต่สำหรับคนอีกจำนวนหนึ่ง การนอนเป็นภัยเงียบที่อาจทำให้พวกเขาไม่ได้ลืมตาตื่นขึ้นมาอีกเลย เพราะ โรคใหลตาย (Brugada syndrome) อย่างที่ปรากฎข่าวชายชาวม้งที่อพยพจากไทยไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตด้วยโรคนี้ และแรงงานชายไทยที่ไปทำงานในประเทศสิงคโปร์นอนหลับแล้วเสียชีวิต และดาราชายวัยรุ่นชื่อดังที่ต้องจากไปก่อนไว้อันควร
ในประเทศไทย ภาวะนี้มักพบในผู้ชายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุระหว่าง 25-50 ปี สามารถเกิดขึ้นได้แม้ในบุคคลที่มีสุขภาพดี และไม่มีประวัติการเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มประชากรนี้ ที่จะต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ SUDS และไปพบแพทย์หากพบอาการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไหลตาย
การขาดธาตุโพแทสเซียม อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด มีปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขนี้ คือ การบริโภคสารพิษในปริมาณเล็กน้อยทุกวัน อาจทำให้เกิดการสะสมและความเป็นพิษในกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้การขาดวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงและกะทันหัน อาจทำให้ผู้ที่มีสุขภาพดี รู้สึกอ่อนแอและเหนื่อยล้า โดยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันขณะนอนหลับ โรคนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการและนิสัยการกินที่ไม่ดี
โดยปกติการเต้นของหัวใจจะเกิดจากกระแสไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากเกลือแร่ที่ไหลเข้าและออกจากเซลล์อย่างต่อเนื่อง เกลือแร่เหล่านี้จะผลิตโซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม และอื่น ๆ แร่ธาตุเหล่านี้จะต้องไหลเข้าและออกจากเซลล์อย่างสมดุล คล้ายกับการเปิด-ปิดประตู แต่บุคคลที่ขาดโพแทสเซียม จะมีประตูไหลเข้าและออกจากเซลล์น้อยลง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในระดับเซลล์ บุคคลเหล่านี้จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เกี่ยวกับนิสัยการบริโภคอาหารของตน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไหลตายที่อาจถึงแก่ชีวิตได้
ทำไมคนไทยเป็นโรคนี้จำนวนมาก
โรคใหลตายพบมากในหมู่คนเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทยและประเทศจีนตอนล่าง โดยอัตราการเกิดโรคในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ 1 ใน 1,000 คน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 1 ใน 2,000 คน
เรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมโรคนี้จึงพบเยอะในคนไทย แต่มีการตั้งข้อสมมติฐานไว้ที่เรื่อง “พันธุกรรม” เราพยายามหากันอยู่ว่าพันธุกรรมตัวใดที่ทำให้คนไทยเป็นโรคนี้มากกว่าชาติอื่น หรือคนเอเชียเป็นโรคนี้มากกว่าคนเชื้อชาติอื่น
แม้ในประเทศไทยเอง โรคใหลตายมักพบในภาคเหนือและภาคอีสาน แต่พบน้อยในภาคใต้ ในภาคอีสานจะมีคนที่มีระดับโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งอาจ เป็นเหตุให้เกิดภาวะใหลตายและเสียชีวิตได้ง่ายขึ้นหรือไม่ หรือจะเป็นสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกิน เนื่องจากในภาคเหนือและอีสาน ผู้คนมักกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าภาคอื่นๆ ก็อาจจะเป็นสาเหตุด้วยหรือไม่ อันนี้ยังอยู่ในขั้นศึกษาวิจัยต่อไป
สัญญาณ เสี่ยง เป็น โรคใหลตาย
ชายไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคใหลตาย แต่การตรวจคัดแยกชายไทยทั้งหมดเพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้เป็นเรื่องยาก เพราะต้องตรวจคลื่นหัวใจเป็นรายบุคคล ศ.นพ.อภิชัย จึงแนะให้เฉพาะผู้ที่มีสัญญาณ เสี่ยง มาพบแพทย์เพื่อตรวจคลื่นหัวใจ โดยสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น ดังนี้
1.) มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคใหลตาย หรือเสียชีวิตจากการนอนหลับอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อสอบถามประวัติคนไข้หลายคนจะปรากฏข้อบ่งชี้ว่าในครอบครัวมีญาติพี่น้องเป็นใหลตายเหมือนกัน ศ.นพ.อภิชัย กล่าว หากมีคนในครอบครัวและเครือญาติเป็นโรคใหลตายหรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงอายุยังน้อย เช่น 40-50 ปีลงมาโดยเฉพาะขณะหลับ คนในครอบครัวคนอื่นๆ จะมีความเสี่ยงเข้าข่ายอาจจะเป็นโรคใหลตาย (Brugada syndrome) ได้ แต่หากอายุมากกว่านั้น หรือสูงอายุแล้ว มักจะเป็นโรคเส้นเลือดไขมันอุดตัน (Coronary artery disease) หรือโรคอื่นๆ มากกว่า
2.) เคยมีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะคนอายุน้อย การเป็นลมที่เชื่อมโยงกับโรคใหลตายมักมีอาการที่ไม่เหมือนเป็นลมธรรมดา เช่น ก่อนเป็นลมมีอาการหัวใจเต้นไม่ปกติหรือมีอาการใจสั่น เป็นลมเป็นเวลานาน ตื่นมาแล้วเบลอ หรือ ร่วมกับมีอาการชัก เกร็ง กระตุก หรือเป็นลมในขณะที่ไม่ควรจะเป็น เช่น ออกกำลังแล้วเป็นลม เป็นต้น
3.) มีความผิดปกติเวลานอนหลับ เช่น มีอาการกระสับกระส่าย หรือมีภาวะการหายใจติดขัด (Agonal breathing) หรือมีอาการเกร็งร่วมด้วย แล้วตื่นขึ้นมาตอนเช้ามีอาการมึนงง เบลอๆ เหมือนกับสมองขาดเลือด