ดูเลย! ใครปวดหัวข้างขวา เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

ดูเลย! ใครปวดหัวข้างขวา เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เรียกได้ว่า คงมีหลายๆคนที่มักจะปวดหัวข้างใดข้างหนึ่งอยู่บ่อยๆ และก็ไม่รู้ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร หากกอนยสอยู่บ่อยๆผลข้างเคียงของยา การใช้ยาเกินขนาด ความเหนื่อยล้า เนื้องอก โรคภูมิแพ้ บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ และปวดหัวจากความเครียด อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ปวดหัวข้างขวา เสี่ยงโรคอะไรบ้าง รักษาอย่างไร

ปวดหัวข้างขวา คืออะไร

ปวดหัวข้างขวา คือ อาการปวดหัวเพียงข้างเดียว อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางระบบประสาท กรรมพันธุ์ การใช้ยาบางชนิด ผลข้างเคียงของยา การใช้ยาเกินขนาด ความเครียด ความเหนื่อยล้า การบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอก สภาพอากาศ เป็นต้น และอาจมีโรคปวดหัวที่มักทำให้ปวดหัวข้างขวา คือ ไมเกรน ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ และปวดหัวจากความเครียด ซึ่งอาจมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ อาการมึนตื้อๆ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อไหล่และคอตึง เป็นต้น

อาการปวดหัวข้างขวา

1.อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างยาก มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือปัจจัยกระตุ้น เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นน้ำมัน โรคปวดหัวแบบคลัสเตอร์เป็นภาวะปวดหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นกะทันหัน มักเริ่มจากมีอาการปวดเบ้าตาข้างเดียวอย่างรุนแรง จากนั้นอาการปวดจะลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น เช่น ใบหน้า คอ ไหล่ อาการอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และอาจมีอาการเหงื่อออกที่ใบหน้า ตาแดง ตาบวม น้ำตาไหล ผิวซีดหรือแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ร่วมด้วย

2.ไมเกรน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไมเกรน แต่อาจเป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียด อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเหนื่อยล้า สภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โรคไมเกรนอาจทำให้มีอาการปวดหัวข้างขวาเป็นจังหวะ พร้อมกับมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มองเห็นภาพซ้อน ไวต่อแสง เสียง และกลิ่น คลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ โดยอาการอาจเกิดขึ้นยาวนานตั้งแต่ 4-72 ชั่วโมง บางคนอาจมีอาการเตือนก่อนจะปวดหัว เช่น หน้ามืด มีปัญหาในการพูด รู้สึกเสียวแปล๊บที่ใบหน้า หรือแขน ขาด้านใดด้านหนึ่ง

3.ปวดหัวจากความเครียด โรคปวดหัวจากความเครียดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย อาจทำให้มีอาการปวดหัวทั้ง 2 ข้าง หรือบางคนอาจมีอาการปวดหัวเพียงข้างเดียว และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มึนตื้อ ปวดเมื่อย เจ็บปวดที่ศีรษะ กล้ามเนื้อไหล่และคอตึง รู้สึกตึงหรือรู้สึกมีแรงกดทับที่หน้าผาก ข้างศีรษะ หรือด้านหลังศีรษะ อาการปวดหัวจากความเครียดอาจเกิดขึ้นเพียง 2-3 ชั่วโมง และส่วนใหญ่มักมีอาการปวดในระดับเบาถึงปานกลาง

สาเหตุของอาการปวดหัวข้างขวา

อาการปวดหัวข้างขวาอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

ปัญหาทางระบบประสาท เช่น

-อาการเจ็บปวดบริเวณท้ายทอย เกิดจากเส้นประสาทท้ายทอยอักเสบ อาจมีอาการปวดหัวและคอเฉียบพลัน ปวดหลังตา

-โรคหลอดเลือดแดงขมับอักเสบ (Temporal arteritis) เกิดจากเส้นเลือดในศีรษะและลำคออักเสบ อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัวด้านข้างรุนแรง เมื่อยล้า

-โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) เกิดจากเส้นประสาทที่ฐานสมองหยุดทำงาน ทำให้มีอาการปวดบริเวณศีรษะและใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอย่างรุนแรง

การใช้ยาบางชนิด ผลข้างเคียงของยาบางชนิด หรือการใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้มีอาการปวดหัวข้างขวาได้ เช่น อะซิตามิโนเฟน (Acetaminophen) แอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

สาเหตุอื่นของอาการปวดหัวข้างขวา เช่น การติดเชื้อ ความเหนื่อยล้า ความเครียด เนื้องอก โรคภูมิแพ้ การบาดเจ็บที่ศีรษะ ความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือด กล้ามเนื้อตึง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหัวข้างขวา

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา มีดังนี้

-การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

-ความเครียด ความเหนื่อยล้า

-สภาพอากาศที่ร้อนหรือหนาวเกินไป

-การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

-ปัญหาสุขภาพ เช่น เนื้องอก โรคภูมิแพ้ การบาดเจ็บที่ศีรษะ

-การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่

การรักษาอาการปวดหัวข้างขวา

การรักษาอาการปวดหัวข้างขวาอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยคุณหมอจะรักษาอาการปวดหัวข้างขวาจากสาเหตุหลักนั้นๆ เพื่อให้อาการปวดหัวข้างขวาดีขึ้น เช่น ปวดหัวข้างขวาจากไมเกรน

ยาแก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการเมื่ออาการปวดกำเริบ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ทริปแทนส์ (Triptans) ไดไฮโดรเออร์โกตามีน (Dihydroergotamine) ลาสมิดิตัน (Lasmiditan) ยาโอปิออยด์ (Opioid medications) ยาต้านอาการคลื่นไส้ (Anti-nausea drugs)

ยาป้องกันอาการปวด ช่วยป้องกันไม่ให้อาการปวดกำเริบ เช่น ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท ยากันชัก ยาต้านสาร CGRP ยากลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) การฉีดโบท็อกซ์

ปวดหัวข้างขวาจากปวดหัวคลัสเตอร์

การรักษาชนิดออกฤทธิ์เร็ว ได้แก่ การสูดดมออกซิเจนบริสุทธิ์ผ่านหน้ากาก การฉีดยาทริปแทนส์ (Triptans) การฉีดยาไดไฮโดรเออร์โกตามีน (Dihydroergotamine) การใช้ยาออคเทรโอไทด์ (Octreotide) การใช้ยาชาเฉพาะที่

การรักษาเชิงป้องกันอาการ ได้แก่ ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยาลิเธียมคาร์บอเนต (Lithium carbonate) การบล็อกเส้นประสาท (Nerve block)

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ